The Dip

concept เรื่อง The Dip (หนังสือที่เขียนโดย Seth Godin) คือช่วงเวลาที่เราต้องเผชิญกับความยากลำบาก อุปสรรค และผลลัพธ์ที่ลดลง หลังจากช่วงเริ่มต้นที่มีความตื่นเต้น เมื่อเข้าสู่ The Dip เราต้องตัดสินใจระหว่างการยอมเลิกหรือพยายามต่อไป

คำกล่าวที่ว่า ผู้ชนะ ไม่เคยล้มเลิกเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะผู้ชนะที่แท้จริงแล้ว ล้มเลิกอยู่ตลอดเวลา แต่เค้าเหล่านั้นรู้ว่าเวลาไหนที่ต้องกล้าที่จะเลิกในสิ่งที่นำไปสู่ทางตัน แต่พยายามต่อไปในสิ่งที่สามารถนำไปสู่การเป็นหนึ่งได้

การเลิกอย่างชาญฉลาดจะช่วยให้เราสามารถนำทรัพยากรจำกัดไปใช้ในสิ่งที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงสุด

การเป็นผู้ชนะ หรือ The best สำคัญมาก หากเวลาและทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดแล้ว การหาตลาดที่เป็น Niche ที่เราสามารถจะ stand out ได้ น่าสนใจมากกว่าการทุ่มพลังและเวลาไปกับกลุ่มตลาดที่ใหญ่เกินไปซึ่งมีโอกาสน้อยที่เราจะชนะ

เราควรตั้งเป้าไว้ว่า เมื่อไหร่ที่ควรจะเลิก เมื่อมันถึงทางตัน ไม่ใช่เลิกเพราะมันแค่เป็นช่วงนึงของความยากลำบาก ซึ่งมันอาจจะต้องพิจารณาดีๆ การตั้งเกณฑ์เรื่อง เงินลงทุน และ เวลา ก็เป็นวิธีนึงที่ช่วยให้ตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5 วิธีหาเรื่องมาเขียน content

การหาไอเดียในการเขียนเป็นสิ่งที่ท้าทายคนทำ content เสมอ แต่จริงๆ แล้วผมว่าเราไม่ได้มีปัญหาเรื่องการหาข้อมูลหรอก ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะข้อมูลที่น่าเขียนมันเยอะมากจนไม่รู้จะเลือกยังไง

ตอนแรกที่ผมเริ่มเขียน ผมรู้สึกกังวลมากกับการหาไอเดียที่ “สมบูรณ์แบบ” ก่อนจะลงมือเขียน ซึ่งในตอนหลังผมมองว่าการเขียนเป็นส่วนนึงของการฝึก และการเขียนไปทั้งหมดนั้น ก็เพื่อตัวเราเอง

นี่คือ 5 วิธีที่ผมใช้เพื่อหาไอเดียมาเขียน

1. สิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว สาขาความรู้ที่เรามีอยู่แล้วนั้น คือแหล่งของไอเดียการสร้างคอนเทนต์ อาจจะเป็นวิชาที่เรียน ทักษะที่กำลังพัฒนา หนังสือที่เราอ่าน งานที่เราเคยทำ และงานอดิเรกที่เราชื่นชอบ

2. เรียนรู้จากแพลตฟอร์มคำถาม แพลตฟอร์มเช่น Quora, Reddit และ Answer the Public แสดงให้เห็นถึงคำถามจริงๆ ที่คนกำลังถามกันในหัวข้อต่างๆ นับไม่ถ้วน เราสามารถค้นหาในเรื่องที่เราสนใจ

3. ติดตามเทรนด์ Google Trends เผยให้เห็นหัวข้อและคำค้นยอดนิยมในขณะนั้น เราสามารถกรองผลการค้นหาตามหมวดหมู่และพื้นที่ เพื่อค้นหาหัวข้อที่ได้รับความสนใจในช่วงเวลาดังกล่าว การเล่นตามเทรนด์เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมด้วย

4. การบริโภคเนื้อหาจากแหล่งอื่น เช่น ดู Netflix ดูหนัง ดู Youtube พวกนี้เป็นมุมมองใหม่ๆ และโอกาสในการสร้างคอนเทนต์ได้อย่างดี

5. ใช้ประสบการณ์ส่วนตัว เนื้อหาที่น่าดึงดูดและมีคุณค่าบางส่วนมาจากประสบการณ์จริงและบทเรียนที่ได้รับ ทบทวนอุปสรรคที่เราเคยเจอ ว่าสามารถนำมาสร้างคุณค่าให้กับผู้อ่านได้ยังไง

ไอเดียมีอยู่รอบตัว เราเพียงแค่ต้องหาวิธีการที่เป็นระบบในการจับ และรวบรวมมันมาเรียบเรียงให้ออกมาเป็นเนื้อหาของเราเท่านั้นเอง

Decision fatigue

ในแต่ละวันเรามักต้องตัดสินใจหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างเลือกรับประทานอาหารเช้าอะไร ไปจนถึงเรื่องสำคัญในชีวิต เช่น งาน การทำงาน และความสัมพันธ์

ซึ่งการตัดสินใจอย่างต่อเนื่องนั้นอาจนำไปสู่ “ภาวะเหนื่อยล้าจากการตัดสินใจ” ได้

ภาวะเหนื่อยล้าจากการตัดสินใจ หมายถึงความเครียดทางสมองที่เกิดขึ้นหลังจากการตัดสินใจอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มันทำให้เราตัดสินใจแบบพรั่งพรู ขาดความมั่นใจ และมีแนวโน้มตัดสินใจผิดพลาด

งานศึกษาในปี 2011 เกี่ยวกับการพิจารณาประหารชีวิตนักโทษพบว่า นักโทษที่ได้รับการพิจารณาในช่วงเช้ามีโอกาสได้รับการประหารชีวิตมากกว่านักโทษที่ได้รับการพิจารณาในช่วงบ่าย

แม้ความผิดและโทษของพวกเขาจะใกล้เคียงกัน เหตุผลก็คือ คณะผู้พิพากษาเหนื่อยล้าจากการตัดสินใจยากๆ ในช่วงเช้าแล้ว

อันตรายของภาวะนี้น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะในอาชีพที่ต้องตัดสินใจเสี่ยงชีวิต เช่นแพทย์ที่ต้องทำงานนานและต้องตัดสินใจสำคัญๆ มากมาย

งานศึกษาพบว่าอัตราการผิดพลาดทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเมื่อบุคลากรทางการแพทย์เหนื่อยล้าจากการตัดสินใจหลายๆ เรื่อง

แต่ภาวะนี้ไม่ได้เกิดกับนักวิชาชีพเท่านั้น มันอาจทำให้ทุกคนตัดสินใจผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อเราต้องเผชิญกับการตัดสินใจหลายๆ อย่างในช่วงเวลาอันสั้น การตัดสินใจที่ซับซ้อนต้องใช้พลังงานสมองเยอะ ทำให้เราเหนื่อยล้ายิ่งขึ้น

แล้วเราจะหลีกเลี่ยงภาวะเหนื่อยล้าจากการตัดสินใจนี้ได้ยังไง

  1. จำกัดจำนวนการตัดสินใจในแต่ละวัน จัดสรรงานหลายๆ อย่างให้กระจายตามวัน จัดลำดับความสำคัญและตัดสินใจเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก่อน
  2. เมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ยาก ให้พยายามมองเหตุการณ์ราวกับว่าคุณเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่เพื่อน วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้โดยไม่เหนื่อยล้าเท่ากับการตัดสินใจสำหรับตัวเอง
  3. จำให้ขึ้นใจว่า การตัดสินใจแต่ละอย่างนั้นมีความสำคัญไม่เท่ากัน จงเก็บพลังงานไว้สำหรับการตัดสินใจที่สำคัญจริงๆ
  4. สร้างพื้นที่และเวลาพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเติมแรงจิตใจให้กับตัวเอง

ผมเคยฟังสัมภาษณ์ Mark Zuckerberg ที่ถูกถามว่า ที่ต้องแต่ตัวเป็น uniform แบบซ้ำกันทุกวันนี่ มันเป็นเพราะทฤษฎี decision fatigue รึเปล่า

Mark บอกว่ามันไม่ได้เป็นความตั้งใจหรอก แต่ผลลัพธ์มันก็ออกมาตรงตามการศึกษา เพราะ การไม่ต้องมานั่งคิดว่าวันนี้จะแต่งตัวยังไง มันก็ช่วยลดภาระสมองไปได้จริงๆ

เคล็ดลับเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้จาก แอนดรูว์ อับเบอร์แมน

Andrew Huberman เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาเกี่ยวกับสมอง มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเข้าใจกระบวนการทำงานของสมอง และวิธีการปรับปรุงการเรียนรู้ของบุคคล

แอนดรูว์ ได้กล่าวว่า การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยความเข้าใจถึงกระบวนการทำงานของสมองด้วย เช่น

1. จังหวะการเรียนรู้ช่วงละ 90 นาที
ความสามารถในการจดจ่ออยู่กับการเรียนรู้จะมีได้ราว 90 นาที แล้วความสนใจจะเริ่มแปรปรวน ก่อนที่สมองจะต้องการการพักผ่อนอย่างแท้จริงเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง เพื่อที่จะสามารถกลับมาเรียนรู้อย่างเต็มที่ได้อีกครั้ง

2. กิจกรรมในระหว่างพัก
ในช่วงพักสั้นๆ ระหว่างการเรียนรู้นั้น แอนดรูว์ แนะนำให้ทำกิจกรรมดังต่อไปนี้ เพื่อเร่งความสามารถในการเรียนรู้

  • การนอนหลับเล็กน้อย
  • การพักผ่อนอย่างลึกโดยไม่ต้องนอนหลับ (NSDR)
    (“NSDR” หมายถึง “Non-Sleep Deep Rest” ซึ่งเป็นการพักผ่อนที่ลึกลงและผ่อนคลายที่ไม่ใช่การหลับหรือนอน ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมเช่นการทำโยคะนิดรา (Yoga Nidra) หรือการนั่งสมาธิที่ไม่ต้องมีการกำหนดจุดความสนใจเฉพาะ)

3. การพักเล็กๆ น้อยๆ ในระหว่างการเรียนรู้
เป็นครั้งคราว ให้หยุดพักจากการเรียนรู้ราว 10 วินาทีโดยไม่ทำอะไรเลย เพียงแค่ว่างสมอง ช่วยให้ไฮปโปแคมปัสส่วนสำคัญของสมองในการจดจำได้ทบทวนข้อมูลที่เพิ่งได้รับ ซึ่งจะช่วยเร่งและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการจดจำสิ่งใหม่ได้ดีขึ้น

4. การเรียนรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป
สามารถแบ่งงานหรือสิ่งที่ต้องเรียนรู้ออกเป็นช่วงๆ สั้นๆ แต่เข้มข้น ตั้งเวลาจับเวลา 3 นาทีและปิดมือถือ แล้วใช้เวลา 3 นาทีนั้นอย่างเต็มที่ในการเรียนรู้เรื่องนั้น แม้ในตอนแรกอาจรู้สึกยาก แต่หากทำซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ การเรียนรู้เล็กๆ น้อยๆ แบบนี้จะสามารถนำไปสู่การเรียนรู้ที่มากกว่าแบบก้าวกระโดดได้

หลักปรัชญาการลงทุนที่ดีที่สุดจากวอร์เรน บัฟเฟตต์

บัฟเฟตต์เริ่มลงทุนในตลาดหุ้นตั้งแต่อายุเพียง 11 ขวบ แต่ในระยะแรกๆ เขายอมรับว่ายังไม่มีหลักการที่ถูกต้อง แค่ลองผิดลองถูกกับกลยุทธ์ต่างๆ อย่างการพยายามจับจังหวะขึ้นลงของราคาหุ้น หรือวาดกราฟเพื่อคาดการณ์ทิศทางตลาด แต่สุดท้ายก็ไม่เกิดผลกำไรสักที

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่ออายุ 19 ปี หลังได้อ่านหนังสือชื่อดัง “The Intelligent Investor” ของเบนจามิน เกรแฮม ซึ่งวางรากฐานทางปรัชญาการลงทุนให้บัฟเฟตต์ถึง 3 ประการ

  1. มองหุ้นในฐานะการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ อย่าดูที่สัญลักษณ์หุ้นเปล่าๆ แต่วิเคราะห์ธุรกิจจริง ได้แก่ จุดแข็งในการแข่งขัน คุณภาพของผู้บริหาร ฯลฯ
  2. มีทัศนคติที่ถูกต้องกับการขึ้นลงของราคาหุ้น อย่าดีใจเมื่อหุ้นพุ่ง หรือเสียใจเมื่อหุ้นดิ่ง แต่ระลึกว่าตลาดเปรียบเสมือน “นายตลาดที่บ้าคลั่ง” ที่เสนอซื้อขายหุ้นกิจการในราคาผิดๆ เราต้องรู้จักปฏิเสธได้
  3. ลงทุนด้วย “ส่วนต่างราคาปลอดภัย” อย่าซื้อหุ้นในราคาใกล้เคียงมูลค่าที่แท้จริง แต่ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามากพอสมควร เหมือนการข้ามสะพานที่ออกแบบมารับน้ำหนักได้หลายเท่า

นอกจากนั้น บัฟเฟตต์ยังแนะนำให้มุ่งลงทุนในบริษัทที่มี “คูเมือง (moats)” หรือ มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันยั่งยืน ไม่ว่าจากการถือสิทธิบัตร สถานที่ตั้งที่ได้เปรียบ หรือแบรนด์จดจำ เช่น โคคา-โคลาที่ฝังรากลึกในสมองผู้บริโภคทั่วโลก

ในการคัดเลือกหุ้น เขามักจะวิเคราะห์ธุรกิจก่อนโดยไม่สนใจราคาหุ้นเป็นลำดับแรก เพื่อมิให้ราคาหุ้นมากระทบการตัดสินใจ จากนั้นจึงค่อยเปรียบเทียบกับราคาที่ซื้อขายจริง และจะลงทุนก็ต่อเมื่อมั่นใจว่าราคานั้นคุ้มค่าจริงๆ

หลักการง่ายๆ ที่บัฟเฟตต์ยึดถือ คือการมุ่งลงทุนในธุรกิจคุณภาพดีที่มีมูลค่าตามสมควร แทนการเก็งกำไรหรือพยายามจับจังหวะตลาด เขาบอกว่าคุณไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นเยอะ หากทำถูกไม่กี่ครั้ง ก็สามารถมั่งคั่งได้

สุดท้ายนี้ บัฟเฟตต์แนะนำให้นักลงทุนรู้จักคัดกรองธุรกิจที่ไม่น่าสนใจออกไปให้ได้เยอะๆ มิฉะนั้นจะท่วมท้นไปด้วยตัวเลือกมากมาย ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้เราสามารถจับประเด็นที่สำคัญและมีโอกาสทำกำไรมากขึ้น