แนวคิดการหาเงินแบบ Ken Honda

Ken Honda ผู้เขียนหนังสือชื่อ Happy Money ได้แชร์หลักคิดนึงเกี่ยวกับเรื่องเงินว่า

ถ้าคุณอยากจะมีเงิน ก่อนอื่นคุณต้องเลิกคิดถึงเรื่องเงินก่อน

โดย Ken Honda ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การที่เราต้องการมีเงินเพิ่ม โดยให้ความสนใจไปที่ตัวเงินเป็นหลัก จะทำให้เราไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องที่สำคัญจริงๆ นั่นก็คือ การแก้ปัญหาให้กับคนอื่น

เราต้องเริ่มต้นจากการโฟกัสไปที่ การเหลือผู้คน และมี mind set ของการเป็นผู้ให้

ในโลกนี้คุณมีได้สองบทบาท คือเป็น ผู้ให้ หรือ ผู้รับ แต่การให้นั้นไม่ได้หมายถึงสิ่งของที่มากมาย แต่คือการส่งมอบคุณค่าอะไรบางอย่างออกไป ที่ทำให้ชีวิตของผู้อื่นดีขึ้น บางทีอาจจะเล็กน้อยเพียง เป็นแค่คำพูดชื่นชมที่จริงใจ ก็เป็นได้

ทันทีที่เราขยายขอบเขตการสร้างคุณค่าของเราออกไปได้มาก เรื่องเงิน “ซึ่งเป็นผลลัพธ์” จะตามมาเอง

แต่ก่อนจะมีผลลัพธ์อะไร เราต้องสร้างเหตุปัจจัยขึ้นมาเสียก่อน

Ken Honda บอกว่าทุกๆคนมีของขวัญติดตัวกันมาอยู่แล้ว โดยยกตัวอย่างเช่นว่า ลองนึกดูว่าตอนเด็กๆ เราเคยได้รับฉายาจากพ่อ แม่ ครู เพื่อน ว่าอะไร

บางคนอาจจะได้รับฉายาว่า นักร้อง, จิตรกร, นักประดิษฐ์ เป็นต้น

Ken Honda บอกว่าฉายาตอนเด็กของเค้าคือ นักสอน นักพูด เค้าเลยมองว่านั่นแหล่ะคือ ของขวัญที่เค้ามีติดตัวมา เค้าจึงเริ่มที่จะฝึกฝนความสามารถนั้นให้ดียิ่งขึ้น และการมาเป็นนักพูด นักเขียนที่มีชื่อเสียง

ไอเดียอีกอันที่ Ken ยกขึ้นมาก็คือ นอกจากพรสวรรค์ที่โดดเด่นแล้ว เรายังมีพรสวรรค์แบบกลางๆอีกหลายอย่างด้วย

การรวมพรสวรรค์ที่เรามีตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป จะทำให้เรามีความเฉพาะตัวมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เราไม่ต้องไปอยู่ในจุดที่ต้องไปแข่งขันกับใคร เพราะสิ่งๆนั้นจะมีแต่เราคนเดียวที่ทำได้

ทันทีคุณค่าแบบนั้นถูกสร้างขึ้น สิ่งที่เรียกว่า “มูลค่า” จะตามมาเอง

Skin in the Game

หน้าที่ของกัปตัน ผู้ขับเครื่องบิน คือ นำเครื่องบินและผู้โดยสารจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง

ถ้าการเดินทางนั้นประสบความสำเร็จ ก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ ของผู้โดยสาร และตัวของกัปตันผู้ทำการบังคับเครื่องด้วย

และถ้ามีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทำให้เครื่องบินไม่สามารถไปถึงที่หมายได้ ตัวของกัปตันผู้บังคับเครื่องบินก็ได้รับผลลัพธ์ของความผิดพลาดนั้นเช่นเดียวกัน

ในกรณีนี้เราสามารถเรียกได้ว่ากัปตันผู้บังคับเครื่องบินมี Skin In The Game

หรือถ้าจะอธิบายแบบสั้นๆก็คือ คนที่มี Skin In The Game คือคนที่ได้รับผลลัพธ์ มีส่วนร่วมในความเสี่ยงทุกการกระทำไม่ว่าจะออกมาเป็นด้านบวกหรือลบ

ในมุมของการลงทุน
Concept ของ Skin In The Game จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เราจะเลือกลงทุนในบริษัทที่ผู้บริหารเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เพราะเรารู้ได้ว่าตัวของผู้บริหารเอง ก็จะเป็นผู้ได้รับผลลัพธ์ของการกระทำทุกอย่าง หรือเรียกง่ายๆว่า ตัวของผู้บริหารอยู่บนเรือลำเดียวกับนักลงทุน

แน่นอนว่าตัวผู้บริหารจะทำงานและบริหารงานอย่างเต็มที่ เพื่อหลีกเลี่ยง ผลลัพธ์ ที่ผิดพลาด และขาดทุน

นักวิเคราะห์และโบรกเกอร์ที่ให้ความเห็นกับเรา ว่าควรจะลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์ต่างๆ ไม่เรียกว่า เป็นผู้ที่มี Skin In The Game เพราะทุกๆการกระทำที่เราได้ตัดสินใจลงทุนไป คนเหล่านี้คือผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ทางเดียว ถึงแม้เราจะทำการลงทุนที่ขาดทุน คนเหล่านี้ก็ยังได้รับผลประโยชน์จากค่าคอมมิชชั่นอยู่ดี นับเป็นเหตุผลว่าทำไมเราไม่ควรให้น้ำหนักกับความเห็นหรือคำแนะนำจาก โบรกเกอร์และนักวิเคราะห์มากเกินไป

ดังเช่น Nassim Taleb ผู้เขียนหนังสือชื่อ Skin In The Game ได้กล่าวว่า

Those that do not take risks should never be involved in making decisions.

Nassim Taleb

นักลงทุน vs นักเก็งกำไร

Warren Buffet ได้เคยยกตัวอย่างความแตกต่างของ การเป็นนักลงทุน กับ นักเก็งกำไร โดยเปรียบเทียบกับการซื้อฟาร์มว่า…

ถ้าคุณเป็นนักลงทุน

เวลาที่คุณตกลงใจซื้อฟาร์มแห่งหนึ่ง คุณจะประเมินมูลค่าจากการคำนวณว่า จากวันนี้ไปอีก 10-20 ปี ฟาร์มแห่งนี้จะให้ผลผลิตออกมาได้ปริมาณเท่าไหร่ และเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่จ่าย ณ วันนี้ จะคุ้มค่าหรือไม่

ถ้าคุณเป็นนักเก็งกำไร

คุณจะซื้อฟาร์มแห่งนี้ ด้วยความคิดที่ว่า ในอนาคต ฟาร์มแห่งนี้น่าจะมีคนมาให้ราคาสูงขึ้นเท่าไหร่ โดยไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องผลผลิตที่ฟาร์มแห่งนี้จะสร้างได้เลย

ผู้นำที่ดี

ฟังสัมภาษณ์ผู้บริหารจากบริษัทที่มีชื่อเสียงแห่งนึงพูดว่า ทางบริษัทมีนโยบาย Lay off คนที่มี Performance 10% ล่างสุดของบริษัทออก และ Reward คนที่มี Top Performance

เลยทำให้นึกไปถึงเรื่องในหนังสือของ Simon Sinek ที่มีชื่อว่า “Leaders eat last” 

การที่เผ่าพันธุ์มนุษย์อยู่รอดมาได้ ผ่านยุคที่ยากลำบาก จนมาถึงปัจจุบัน เพราะมนุษย์มีสิ่งนึงที่เรียกว่า “ความร่วมมือร่วมใจ (Trust and Cooperation)”

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องคอยช่วยเหลือกันในยามที่วิกฤต 

ถ้าในสมัยยุคมนุษย์ถ้ำ หากเราไม่ร่วมมือร่วมใจกันแล้ว เราจะตกเป็นเหยื่อของภัยธรรมชาติ และสัตว์ที่จะเข้ามาทำร้าย เวลาที่เราต้องออกไปหาอาหาร เราต้องมีความไว้ใจคนที่อยู่ข้างหลังว่าจะดูแลคนรัก หรือครอบครัวเราได้ 

เรามองกลุ่มคนที่มาอยู่รวมกัน ช่วยเหลือกันว่าเป็น “ครอบครัว” เดียวกัน

แม้เวลาผ่านไปหลายพันปี ความเป็นสัตว์สังคมของมนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนไป เรายังต้องอยู่รวมกัน และช่วยกันต่อสู้สิ่งที่จะเข้ามาทำอันตราย เพียงแต่เราไม่ต้องออกไปทำสงคราม หรือต่อสู้กับสัตว์ป่า

องค์กรและบริษัทคือสถานที่ๆ คนมากมายมาอยู่รวมกัน เพื่อมีจุดร่วมในการบรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง 

เพราะฉะนั้นการสร้างบรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ ความรู้สึกปลอดภัย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ในแต่ละวันเราต้องต่อสู้กับปัญหาต่างๆที่เข้ามา ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องของยอดขาย ปัญหาเรื่องคู่แข่งขันทางธุรกิจ หากภายในองค์กรของบริษัทไม่มีความสามัคคีกัน ก็ยากที่จะผ่านปัญหาต่างๆไปได้

“บรรยากาศแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ” เป็นความรับผิดชอบของคนที่เป็นผู้นำองค์กรที่เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว ที่ต้องสร้างขึ้นมา 

ในช่วงก่อนปี 1970 ยังไม่เคยมีประวัติการทำ Mass Layoff เกิดขึ้น วิธีการนี้เพิ่งจะเริ่มมาเป็นที่นิยมมากในช่วงปี 1980-1990 แถมผู้บริหารที่ใช้วิธีการบริหารแบบนี้กลับได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักบริหารคน” ชั้นยอดอีก 

วิธีการบริหารแบบ Layoff คนที่มี Performance ไม่ตรงตามเป้าหมายของบริษัทก็กลายมาเป็นเรื่องปกติในปี 2000 เป็นต้นมา

จริงแล้วๆ วิธีการนี้เป็นวิธีที่ผิดธรรมชาติของการอยู่รอดของมนุษย์ การบอกให้คนในองค์กรต้องแข่งขันกันเองเพื่อความอยู่รอด เป็นเหมือนการบอกว่าที่จริงแล้ว “เราไม่ใช่ครอบครัวเดียวกัน เราคือศัตรูกัน” 

ลองนึกภาพว่าบรรยากาศในการทำงานขององค์กรนั้นๆจะเป็นอย่างไร

ในทุกๆวัน นอกจากต้องต่อสู้ภัยจากภายนอกแล้ว เรายังต้องต่อสู้กันเองในบริษัท 

แน่นอนว่าการกระตุ้นแบบนี้ ย่อมส่งผลให้ตัวเลขของบริษัทดูดีขึ้น แต่ก็เป็นช่วงสั้นๆ เพราะสุดท้ายแล้วทุกคนก็มองเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก และพร้อมที่จะทำร้ายคนในองค์กรเดียวกัน เมื่อภัยใกล้มาถึงตัวเอง 

Simon Sinek เล่าถึง 2 บริษัท สมมติว่า บริษัท A กับ บริษัท B

ในตอนที่ทั้งสองบริษัท ต้องประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ

ผู้บริหารของบริษัท A เลือกที่จะทำ Mass Layoff เพื่อรักษาตัวเลขของบริษัท

ผู้บริหารของบริษัท B เลือกที่จะรักษาคนไว้ และไม่ไล่ใครออก แต่มีข้อแม้ว่า ทุกตำแหน่งของบริษัทตั้งแต่ CEO จนถึงตำแหน่ง Junior ที่สุด ต้องลาพักร้อนโดยไม่มีเงินเดือนคนละ 4 สัปดาห์ เพราะการช่วยกันแบ่งเบาภาระกันคนละนิดย่อมดีกว่าต้องเสียสละใครออกไป 

ทันทีที่บริษัทB มีการสื่อสารแบบนี้ ทำให้คนในองค์กรรู้สึกถึงความปลอดภัย เมื่อรู้สึกปลอดภัยทุกคนก็รู้สึกเชื่อใจกัน พอทุกคนเชื่อใจกัน สุดท้ายก็กลายมาเป็นความร่วมมือร่วมใจ

แต่ละคนในบริษัทB ก็เริ่มมีการแลกเปลี่ยนวันหยุดกัน ใครเดือดร้อนมากก็ได้รับการแลกเปลี่ยนวันหยุดกับคนที่เดือดร้อนน้อย ซึ่งกลไกธรรมชาตินี้เกิดขึ้นเองเวลาคนในองค์กรรู้สึกปลอดภัย ทุกคนจะอยากดูแลซึ่งกันและกัน 

ทุกคนจะตระหนักได้เองว่า การที่จะอยู่รอด เราต้องร่วมแรงร่วมใจกัน

ทันใดที่วิกฤติผ่านพ้นไป บริษัท B ก็กลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานที่จงรักภักดีต่อองค์กร มีกำไร และมีผลประกอบการที่สูงขึ้นกว่าบริษัท A อย่างมาก 

เราเข้าใจมาตลอดว่า การปล่อยให้คนแข่งขันกันเองจะทำให้บริษัทได้ผลประโยชน์ เพราะคนจะแย่งกันสร้างผลงาน ทำให้ตัวเลขเติบโต

แต่แท้จริงแล้ว ผู้นำที่ทำให้คนในองค์กรรู้สึกปลอดภัย และสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นต่างหาก ที่จะทำให้บริษัทอยู่รอดได้ในทุกวิกฤติ

วิธีการเลือก Domain name

วิธีการหาชื่อของธุรกิจส่วนใหญ่แล้ว จะเริ่มจากการ Brainstorm ชื่อที่ชอบ จากนั้นถึงค่อยเขยิบไปค้นหา Domain name ที่เหมาะสม ซึ่งตัวเลือกแรก ของทุกบริษัทก็คือ .com

.com (ดอทคอม) เรียกได้ว่าเป็น Extension แรกของโลก และได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับพวก ดอท อื่นๆ เรียกได้ว่ากิน Market share ถึง 70% ของเว็บไซต์บนโลกนี้เลยทีเดียว

ธุรกิจ หรือ Start Up บางบริษัทอาจจะใช้เงินมากถึง 1 ล้านเหรียญ สำหรับการหาชื่อ Domain name ที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น sumo.com, carrot.com เป็นต้น

ดอทคอม เป็นเหมือน Default ของ Domain name ประมาณว่าถ้าเราจำได้แต่ชื่อ Brand หรือ บริษัท เรามักจะพิมพ์ .com ต่อท้ายที่ชื่อบน Browser โดยอัตโนมัติ

หลายบริษัท อาจจะเริ่มต้นจากใช้ดอทอื่นก่อนในช่วงที่เงินทุนยังไม่เยอะ เช่น .io .co .net and etc. และทันทีธุรกิจเริ่ม funding ได้ถึงค่อยไปติดต่อขอซื้อ .com ซึ่งแบบนี้เป็นการรับประกันได้เลยว่า ต้องเจอราคาเสนอที่แพงแน่นอนเพราะ ผู้ขายจะมีอำนาจต่อรองสูงมาก

Laura Roeder ผู้ก่อตั้งบริษัท PaperBell ครั้งนึงเคยประสบปัญหาการติดต่อขอซื้อ Domain name ช่วงตอนก่อตั้งบริษัทแรกที่มีชื่อว่า MeetEdgar

MeetEdgar เป็น Platform ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับ Content Creator ในการจัดการเผยแพร่ Content ผ่าน Social Media

หลังจากที่ตั้งบริษัทได้แล้ว ในขั้นตอนการขอซื้อ Edgar.com จากเจ้าของเดิม ก็ประสบปัญหาและไม่สามารถปิด Deal ได้ Laura ก็เลยจำเป็นต้อง re-brand เว็บของบริษัทมาเป็น MeetEdgar.com แทน

ภายหลังต่อมา เมื่อจะตั้งบริษัทที่สอง Laura Roeder ได้รับบทเรียนแล้วว่า การเริ่มต้นบริษัทก่อนที่จะจด Domain name จะเจอปัญหายุ่งยาก เธอก็เลยคิดว่าคราวนี้ต้องจดชื่อพร้อม Domain name ที่เป็น .com เป็นขั้นตอนแรกเลยของการเริ่มต้นธุรกิจ

ซึ่งหลักการหาชื่อของ Laura ก็จะมีอยู่ว่า

1. ให้ตั้ง Budget ไว้เลยว่าจะจ่ายเท่าไหร่ ผมเคยฟัง podcast EP นึงของ DNW podcast เค้าว่า ค่าเฉลี่ยที่บริษัท StartUp กันไว้เพื่อจ่ายค่า Domain name จะอยู่ที่ราวๆ $2000 และนั่นก็เป็นตัวเลขเดียวกับที่ Laura ตั้งไว้

2. อย่าเพิ่งคิดเรื่องของ Brand แต่ให้มองเรื่องของ Domain name ที่เป็น .com ก่อน เพราะ แน่นอนว่าคนทุกคนมีชื่อที่ชอบอยู่ในใจอยู่แล้ว แต่มันจะไม่มีความหมายเลยถ้าคุณต้องสร้างแบรนด์ให้ดัง เพื่อให้ลูกค้าไปเข้าเว็บไซต์คนอื่น

3. เน้นใช้คำที่เรียบง่าย จำง่าย ทุกคนรู้จัก ในต่างประเทศจะมีวิธีการนึงเรียกว่า “Radio Test” หมายความว่า ถ้าได้ยินชื่อผ่านวิทยุหรือ podcast ก็จะสามารถสะกดได้ถูกต้อง เพราะฉะนั้นไม่ควรใช้คำที่สะกดแปลกๆ คำแสลง หรือคำสะกดผิด

4. อย่าเลือกใช้คำเดียว(one-word) เช่น Glasses, Shoes, Door, Window เพราะการที่จะซื้อ Domain name แบบนี้ใน budget $2000 แทบเป็นไปไม่ได้เลย และถึงจะซื้อได้ คำพวกนี้เวลาเอาไป Search ใน Google ก็แทบไม่มีโอกาสที่จะอยู่ใน Ranking ของหน้าแรกเลย

5. ใช้วิธีการ Combine หรือการผสมคำแทน แต่ต้อง Research ดูด้วยว่า คำที่ผสมออกมาไม่ได้มีความหมายในเชิงลบ และไม่ทำให้คนเข้าใจผิด ตัวอย่างของคำผสมที่ดีก็อย่างเช่น Facebook.com, Convertkit.com, RightMessage.com เป็นต้น

6. เมื่อได้ชื่อที่ต้องการแล้ว ก็ลองเอาไปค้นหาดู ถ้า .com ยังว่างก็ถือว่าโชคดีมาก แต่ถ้าชื่อนี้ถูกเอาไป Listed ใน Domain Marketplace ก็อาจจะต้องกลับมาดูว่ายังอยู่ใน Budget หรือเปล่า

อย่างกรณีของ Laura หลังจากได้ Brainstorm กลับทีมเรียบร้อยแล้วก็พบว่าคำที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองคือ PaperBell.com ซึ่งเป็นคำที่ใครเห็นก็อ่านได้ ง่ายต่อการจดจำ และที่สำคัญสามารถซื้อมาได้ด้วยราคา $1795 ซึ่งอยู่ใน Budget ที่ตั้งเอาไว้

Note: เครื่องมือตัวนึงที่ผมชอบใช้เวลาต้องการหาชื่อ Domain Name ที่เป็นคำผสม และเป็น Dictionary Word มีชื่อว่า LeanDomainSearch.com ซึ่งทุกคนสามารถค้นหาชื่อดอทคอมดีๆ ที่ยังว่างอยู่ได้ผ่านเว็บนี้เลยครับ 🙂